วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
HRM และ HRD ต่างกันอย่างไร
คำว่า HRM ย่อมาจากคำว่า Human Resource Management หมายถึง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของประชากร เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วน HRD ย่อมาจากคำว่า Human Resource Development หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ
HRM และ HRD คืออะไร
ในยุคปัจจุบันเรามักได้ยินคนพูดถึงคำว่า HRM กับ HRD อยู่บ่อย ครั้ง ทำให้ดิฉันเกิดความสงสัยว่า คำสองคำนี้หมายถึงอะไร แตกต่างกัน อย่างไร มีความสำคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องอะไรกับเราบ้าง จึงได้ลอง ศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
คำว่า HRM ย่อมาจากคำว่า Human Resource Management หมายถึง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการ วางแผน การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของประชากร เริ่มตั้งแต่เกิดจน ตาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ องค์การต้องดูแลรักษา ใช้งาน และให้ ประโยชน์แก่ทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย คือก่อนเข้าทำงาน และหลังพ้น จากงาน เป็นภารกิจขององค์การนั่นเอง
หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( HRM ) ในสถานประกอบการ มีดังนี้
1. กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( HRM Strategy )
2. วางแผนเกี่ยวกับกำลังคน หรือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ( HR Plainning )
3. สรรหา คัดเลือก บรรจุแต่งตั้งบุคคล ( Recuitment + Selection and Placement ) ถือว่าเป็นกระบวนการจัดหาบุคคลเข้ามาใน องค์การ ( Procurement )
4. การฝึกอบรมและการพัฒนา ( Human Resource Training and Development )
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ( Performance Appraisal )
6. จัดการบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ ( Compensation , Benefit and Service )
7. ดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัย ( Discipline )
8. ดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัย ( Safety and Health )
9. ส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์ ( Labour Relation )
10. รับผิดชอบดูแลระบบข้อมูล การตรวจสอบ และการวิจัยทรัพยากรมนุษย์
ส่วน HRD ย่อมาจากคำว่า Human Resource Development หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัว มนุษย์ โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ เช่น ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติการ ศึกษาดูงาน ฯลฯ ถ้าดูจากหน้าที่ของ HRM ดังข้อความข้างต้นแล้ว จะพบว่า HRD อยู่ในข้อ 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าเป็นเพียงส่วนย่อยของ HRM เท่านั้น
วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development)
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2. ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น
3. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทำให้สภาพสังคม โดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน
1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization)
3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนานๆ (Maintenance)
4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development)
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์การที่ตนปฏิบัติงาน
2. ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงานกับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น
3. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทำให้สภาพสังคม โดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน
ที่มา www.powervision.co.th
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
ปัจจุบันงานทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องมุ่งเน้นไปที่การเข้าใจใน สภาพธุรกิจและสภาพการแข่งขันภายนอกกับคู่แข่งขัน เมื่อเทียบกับองค์กรของเราแล้วนั้นว่ามีสภาพ ปัจจัยทั้งภายในภายนอก จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค ในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างไรเพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผน และจะนำแผนนั้นไปใช้เพื่อพัฒนาคนให้กับองค์กร และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแผนองค์กร
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การ กำหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความปลอดภัย การพันจากงานของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากร มนุษย์
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การ กำหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความปลอดภัย การพันจากงานของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการทรัพยากร มนุษย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)